หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน
และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
การออกแบบโปรแกรม เป็นการอธิบายการทำงานของโปรแกรมอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยการออกแบบโปรแกรมสามารถทำได้ทั้งการเขียนข้อความ และการเขียนผังงาน การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนข้อความ โปรแกรม Scratch เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นบล็อกโปรแกรม (block) นำมาต่อกันเพื่อสร้างรหัสคำสั่ง (Code) เพื่อสั่งให้โปรแกรม Scratch ทำงานตามที่ได้เขียนโปรแกรมไว้ สามารถนำมาใช้พัฒนาซอฟต์แวร์เชิงสร้างสรรค์ โดยต้องกำหนดตัวแปร เขียนโปรแกรมอย่างมีเงื่อนไข
ตัวชี้วัด
ว 4.2 ป.6/2 ออกแบบ และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข
จุดประสงค์
1. อธิบายความหมายสัญลักษณ์ผังงานเบื้องต้นได้ (K)
2. เห็นถึงประโยชน์ของการใช้ผังงานในการออกแบบและวางแผน (P)
3. นำการเขียนผังงานไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมและแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ (A)
ผังงาน (Flowchart) คือ...
ผังงาน หรือ โฟลว์ชาร์ต (Flowchart) เป็นการเขียนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานโดยใช้สัญลักษณ์ แทนความหมายของการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งคนสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย เพราะผังงานไม่ขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะ และเนื่องจากผังงานเป็นสื่อความหมายด้วยภาพ ทำให้ง่าย และสะดวกต่อการพิจารณาถึงลำดับขั้นตอนการทำงาน ตรวจสอบความถูกต้องของลำดับขั้นตอนได้ง่าย
เคล็ดลับแบบนี้ต้องจำให้ดี ซะแล้ว
หลักการเขียน ผังงาน (Flowchart).
ผังงาน (Flowchart) จะต้องมีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดเสมอ
เลือกใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้อง
ใช้ลูกศรเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานของโปรแกรมจากบนลงล่าง
จากซ้ายไปขวา โดยเรียงตามลำดับ
รูปสัญลักษณ์ทุกตัวต้องมีลูกศรเข้าและออก ยกเว้นจุดเริ่มต้นจะมีเฉพาะออก
จุดสิ้นสุดจะมีเฉพาะเข้าเท่านั้น
ลูกศรทุกตัวจะชี้ออกจากรูปสัญลักษณ์ตัวหนึ่งไปยังรูปสัญลักษณ์อีกตัวหนึ่งเสมอ
คำอธิบายภายในรูปสัญลักษณ์ ควรสั้นๆ เข้าใจง่าย
ไม่ควรใช้ลูกศรชี้ไปไกลมากเกินไป หากจำเป็นให้ใช้จุดเชื่อมแทน